เกี่ยวกับโครงการ

โครงการเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน


       สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) โดยสำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (บส.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และ เครือข่ายนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนิน โครงการเพื่อพัฒนาความทักษะการเรียนรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ด้านการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ด้านการสอนเรื่องสื่อ การรู้เท่าทันสื่อ สำหรับสถาบันการศึกษา ประชาชนทั่วไป และองค์กรต่างๆ ที่สนใจ 

       ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2563 – 2568) ซึ่งกำหนดแนวทาง การดำเนินการที่มุ่งให้มีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความรู้และเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้กับ ประชาชนกลุ่มต่างๆ ประกอบกับแผนปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กำหนดเรื่องและประเด็นการ ปฏิรูปที่ 1 ว่าด้วยการปฏิรูปการรู้เท่าทันสื่อของประชาชน โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือการมีส่วนร่วมของ รัฐ - สื่อ - เอกชน และประชาชนในการร่วมรณรงค์การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ และรู้เท่าทันสื่อทุกประเภทอย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำกับดูแลสื่อ ตรวจสอบ เฝ้าระวัง รับเรื่องร้องเรียนและร่วมแก้ไขปัญหาการกระทำ อันไม่เหมาะสมของสื่อ ตลอดจนดำเนินการ และสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นการส่งเสริมให้เกิดการรู้เท่าทันสื่อ

       โดยเมื่อปี พ.ศ. 2564 ได้ร่วมกันจัดทำเครื่องมือการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน ในรูปแบบหลักสูตรเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา และ ประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งคู่มือการจัดการเรียนการสอน โดยได้มีการศึกษาข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม การรู้เท่าทันสื่อของทั้งในและต่างประเทศ มีการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญในระดับประเทศ และจัดประชุมเพื่อรับฟัง ความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วยภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษาและนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านสื่อสาร มวลชน และด้านระบบการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ ตลอดจนภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม  ในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ ตลอดจนรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อตรวจสอบคุณภาพก่อนนำไปใช้ จัดการเรียนการสอนจริง

      ในปี 2564 ได้ร่วมกันศึกษากำหนดแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันการศึกษาหรือองค์กรต่าง ๆ นำหลักสูตร ไปใช้จัดการเรียนการสอน โดยมีการคัดเลือกสถาบันการศึกษาหรือองค์กรต่างๆ เข้าร่วมโครงการ จำนวน 16 แห่ง  ในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 4 แห่ง มีการจัดประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจการดำเนินโครงการ มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากร ผู้สอน รวมทั้ง ออกแบบและผลิตสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับใช้ในการสอนตามหลักสูตร มีการติดตามประเมินผลการ นำหลักสูตรและสื่อการสอนไปใช้ในการเรียนการสอน ตลอดจนสรุปผลวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนแนะ แนวทางปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

   สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสังคมการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการส่งเสริมและพัฒนา ความสามารถของประชาชนทุกกลุ่มให้รู้เท่าทันสื่อ จึงมุ่งสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และกลุ่มองค์กรขับเคลื่อน ทางสังคมเกี่ยวกับสื่อ ซึ่งถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่จะเป็นกลไกพัฒนา สร้างทักษะในการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ซึ่งนำไปสู่ความสามารถในการขยายผลไปยังสังคมรอบตัวและสังคมระดับประเทศไทย ทั้งนี้ สถาบันการศึกษา องค์กรต่างๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ที่สนใจสามารถนำหลักสูตรหรือเนื้อหาการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ของประชาชนเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียน การสอน หรือการจัดกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ในการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อได้