ย้อนกลับ 4 ตุลาคม 2565

การประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจกับสถาบันการศึกษา องค์กร และประชาชน เพื่อมีส่วนร่วม :
โครงการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อของประชาชนเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์
จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 4 ตุลาคม
2565 เวลา 09.00-16.30 น. ผ่านระบบ Zoom Meeting

 

ช่วงที่ 1 กล่าวต้อนรับ โดยหัวหน้าโครงการ รศ.ดร. ธนภัทร ปัจฉิมม์ 


ช่วงที่ 2  กล่าวเปิด โดย ผศ.ดร.ภูมิศิษฐ์  มหาเวสน์ศิริ รองเลขาธิการ กสทช. พร้อมระบุถึงความสำคัญของการใช้สื่อให้เกิดประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน ปัจจุบันสื่อที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนมากขึ้น เช่น สื่อที่ล่วงละเมิด สื่อที่ทำร้ายหลอกลวง สื่อที่บิดเบือนข้อเท็จจริง สื่อที่สร้างความเกลียดชัง รวมถึงการเสพสื่ออย่างขาดการวิจารณญาณ ซึ่งส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยม และวัฒนธรรมที่ดีงาม ความเห็นอกเห็นใจกันของคนในสังคม ในขณะเดียวกัน สื่อก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคม วัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงความคิด การทำให้ผู้คนมีส่วนร่วม โดยสำนักงาน กสทช. ได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อของประชาชนเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ขึ้น โดยร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ โดยมีสถาบันการศึกษา และองค์กรต่าง ๆ จำนวน 20 แห่ง เข้าร่วมดำเนินการ เพื่อเป็นการยกระดับการขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง


ช่วงที่ 3  ดร.ตรี บุญเจือ ผู้อำนวยการสำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ “สื่อสร้างสรรค์กับการรู้เท่าทันสื่อ”
 


 

ช่วงที่ 4 เป็นช่วงแนะนำโครงการ ในรูปแบบวงร่วมสานเสวนา ชี้แจงหลักการเหตุผล วัตถุประสงค์ เพื่อแนะนำ เชิญชวน ให้สถาบันการศึกษา องค์กร และประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ



ดย 
: คณะนักวิจัยในโครงการฯ นำโดย
- ดร. สังกมา  สารวัตร

รศ.ดร.กัญญามน  กาญจนาทวีกูล
ดร.วัลลภา  ศรีทองพิมพ์
- คุณราตรี จุลคีรี ผู้อำนวยการส่วน
สำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช.

 

 


ช่วงที่ 5 และช่วงที่ 6  เข้าสู่ช่วงเปิดตัว “มีฤทธิ์ โปรเจ็ค” และแนะนำหลักสูตร แบ่งกลุ่มระหว่างระดับมัธยม และระดับประชาชน ในรูปแบบสานเสวนา

หลักสูตรระดับประชาชน นำโดย ดร.สังกมา สารวัตร  ผศ.ดร.ประกอบเกียรติ อิ่มศิริ ผศ.ดร.กฤษณพร  ประสิทธิ์วิเศษ และดร.จุฑารัตน์ ช่างทอง แนะนำภาพรวมเนื้อหาหลักสูตรระดับประชาชน กรอบแนวทางปฏิบัติ แผนกิจกรรม แก่ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการในการนำหลักสูตรไปใช้ในการสอน การเขียนรายงาน การประเมิน การให้คำปรึกษา และส่งมอบงานให้คณะวิจัย

หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา” นำโดย:  ผศ.ดร.ศศิธร ยุวโกศล ผศ.ดร.กนกพร ฉันทนารุ่งภักดิ์  ผศ.ดร.ดนุชา สลีวงศ์  และผศ.ดร.จิรภัทร  เริ่มศรี  แนะนำภาพรวมเนื้อหา กรอบแนวทางปฏิบัติ แผนกิจกรรม แก่ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการในการนำหลักสูตรไปใช้ในการสอน การเขียนรายงาน การประเมิน การให้คำปรึกษา และส่งมอบงานให้คณะวิจัย

ช่วงที่ 7 เป็นการแนะนำสื่อประกอบการสอน ทั้งในการสอนระดับมัธยม และระดับประชาชน โดย ผศ.ดร.ดนุชา สลีวงศ์   และ ผศ.ดร.กนกพร ฉันทนารุ่งภักดิ์

 

 

ปิดท้ายด้วย ช่วงที่ 8 ตอบข้อซักถาม ปรึกษาหารือกับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งสรุปผลการคัดเลือกสถาบันการศึกษา องค์กร เพื่อเข้าร่วมโครงการ ภูมิภาคละไม่น้อยกว่า 2 แห่ง ครอบคลุม 10 ภูมิภาค นำโดย คุณราตรี จุลคีรี ผู้อำนวยการส่วน สำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. พร้อม คณะทีมที่ปรึกษา

ซึ่งมีผู้แทนจากสถาบันการศึกษาและองค์กรต่าง ๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน จาก 20 แห่ง เข้าร่วมประชุมชี้แจงฯ ดังนี้

ภาค

มัธยมศึกษา

ประชาชน

ภาคกลาง

โรงเรียนอู่ทอง 
จ.สุพรรณบุรี

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี ศูนย์พัฒนาศักยภาพ ผู้สูงวัย “ฒ.แข็งแรง” จังหวัดสิงห์บุรี

ภาคตะวันออก

โรงเรียนศรียานุสรณ์

จังหวัดจันทบุรี

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
กลุ่มประชาชน ชุมชนบางเสร่ จังหวัดชลบุรี

ภาคเหนือตอนบน

โรงเรียนเถินวิทยา
จังหวัดลำปาง

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
จังหวัดลำปาง

ภาคเหนือตอนล่าง

โรงเรียนบ้านเขาพลวง
จังหวัดเพชรบูรณ์

เทศบาลตำบลพลายชุมพล "โรงเรียนผู้สูงวัยพลายชุมพล" จังหวัดพิษณุโลก

ภาคใต้ตอนบน

โรงเรียนปากพนัง

จังหวัดนครศรีธรรมราช

 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ภาคใต้ตอนล่าง

โรงเรียนเทศบาล 1
จังหวัดสงขลา

สมาคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
จังหวัดปัตตานี

ภาคะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

โรงเรียนชุมชนบ้านโพธิ์สองห้องวิทยา
จังหวัดมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

จังหวัดมหาสารคาม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
กลุ่มชุมชนบัวขุนจง อ.บัวเชต จังหวัดสุรินทร์

ภาคตะวันตก

โรงเรียนเทศบาล 9 บ้านสามพระยา
จังหวัดเพชรบุรี

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด วิทยาเขตหัวหิน
จังหวัดเพชรบุรี  

กรุงเทพฯ และปริมณฑล

โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา จังหวัดนครปฐม

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด วิทยาเขตพระรามเก้า เคหะชุมชนร่มเกล้า ลาดกระบัง กทม.